ที่มาโครงการ

ที่มา :  จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งที่สองรองจากกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของจังหวัดในภาคเหนือ โดยไม่ว่าจะเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา การค้า การลงทุน ด้านเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภาคเหนือของประเทศไทย อย่างไรก็ตามการพัฒนาเมืองของจังหวัดเชียงใหม่และการยกระดับมาตรฐานสินค้า และบริการ ยังประสบปัญหาที่ไม่สามารถควบคุมได้ และเป็นความเสี่ยงให้เกิดความสูญเสียต่อความน่าเชื่อถือทั้งจากนักลงทุน และนักท่องเที่ยว นั้นคือ ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก น้ำกัดเซาะตลิ่ง

 

สภาพปัญหา/ความต้องการ :  ความเสี่ยงจากการเกิดปัญหาน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก น้ำกัดเซาะตลิ่งที่ต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงกว่าปกติ ซึ่งนับวันจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นปัจจัยที่กระทบต่อการผลิตสินค้าเกษตร สร้างความเสียหายและสูญเสียรายได้ทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดเชียงใหม่ได้ไม่น้อย สถานที่ท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ นักท่องเที่ยวขาดความมั่นใจและความปลอดภัยในการท่องเที่ยว กระทบถึงความเชื่อมั่นต่อภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบถึงสภาพเศรษฐกิจของจังหวัดในภาพรวม

 

การเฝ้าระวังและการเตรียมความพร้อมรับมือกับสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการติดตามและเฝ้าระวังสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำท่าที่แต่ละหน่วยงานได้มีการติดตั้งระบบตรวจสอบเฝ้าระวังไว้และรายงานสถานการณ์ เช่น ระบบเรดาร์ตรวจสอบการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆฝน การรายงานการตรวจวัดปริมาณน้ำฝนรายชั่วโมง รายวัน ของสำนักงานป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่, การตรวจวัดปริมาณการไหลของน้ำในลำน้ำและการตรวจวัดระดับน้ำ ของของศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่, ศูนย์อุทกชลประทานภาคเหนือตอนบน, กรมชลประทาน สำนักงานชลประทานที่ 1, และส่วนอุทกวิทยา  สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 1 แต่การดำเนินการยังขาดการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อเป็นหนี่งเดียวในการติดตาและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ฉะนั้นเพื่อให้การวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วและเกิดความคล่องตัวในการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ เพื่อสามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนได้อย่างทันท่วงที ระบบสารสนเทศในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำจึงควรได้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นอย่างมีมาตรฐานและเหมาะสม

ปภ.เชียงใหม่

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่

แขวงทางหลวงชนบท ถ. อนุสาวรีย์สิงห์ ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50300

กลุ่มวิจัย OASYS

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

239 ถ. ห้วยแก้ว ต. สุเทพ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 053 942 074

ศูนย์ CENDIM

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

239 ถ. ห้วยแก้ว ต. สุเทพ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50200